Hard Skills ที่จำเป็นในอนาคต : ทักษะการเขียนโค้ด (Coding Skills)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ ในโลกที่เทคโนโลยีดิจิทัลกำลังเติบโตอย่างก้าวกระโดด นอกการเรียนรู้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสารระหว่างมนุษย์แล้ว   ยังต้องเรียนรู้ภาษาเพื่อสั่งการ สื่อสารระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ ให้ทำงานอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพอีกด้วย  ทักษะการเขียนโค้ดจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนในศตวรรษที่ 21 บางคนอาจเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า การเขียนโค้ด เป็นเรื่องเฉพาะสำหรับโปรแกรมเมอร์หรือนักไอทีเท่านั้น แต่แท้ที่จริงแล้วทักษะนี้เกี่ยวข้องกับความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีตรรกะในการแก้ไขปัญหาอย่างมีเหตุผล Code คือ ชุดคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์  เช่น C++, PHP, Java  เพื่อให้คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ   การเขียนโค้ด (Coding) คือ เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาโปรแกรม คอมพิวเตอร์ เช่น BASIC C, Pascal, Assemble  

Soft Skills ที่จำเป็นในอนาคต : การสร้างสรรค์ (Creativity)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ การสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและมีหลายแง่มุม จากหลากหลายสาขาวิชา ยากจะอธิบายได้อย่างชัดเจนและครอบคลุมด้วยนิยามเดียว เพราะการสร้างสรรค์นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะในทางศิลปะ แต่ยังรวมถึง วิทยาศาสตร์ การบริหารธุรกิจ การเกษตร และอื่นๆอีกมากมาย (Kersting, 2003; Skillicorn, 2021) พจนานุกรมเคมบริดจ์ ให้นิยามการคิดสร้างสรรค์ อย่างสั้นๆว่า “ความสามารถในการผลิตหรือใช้แนวคิดแรกเริ่ม (Originality) และแปลกใหม่” (Cambridge University Press, 2023) สารานุกรมบริทานิกา ให้ความหมายของ การสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการผลิตสิ่งใหม่ผ่านทักษะการจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาใหม่ วิธีการหรืออุปกรณ์ใหม่ หรือวัตถุหรือรูปแบบทางศิลปะใหม่

Hard Skills ที่จำเป็นในอนาคต : ทักษะดิจิทัล (Digital Skills)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ ในโลกยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว คนทั่วไปสามารถครอบครองและเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารดิจิทัลได้ง่ายขึ้น สะดวกสบายยิ่งขึ้น จากรายงาน Digital2023: Thailand (Kemp, 2023) ซึ่งสำรวจพฤติกรรมเกี่ยวกับดิจิทัลของคนไทย พบว่า  61.21 ล้านคน หรือมากถึง 85.3% ของประชากร เป็นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยใช้งานเฉลี่ยมากถึง 8 ชั่วโมง 6 นาที ต่อวัน   ส่วนใหญ่ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยกิจกรรมที่ทำ 5 อันดับแรก คือ  (1) ค้นหาข้อมูล 64.69% (2)

 Hard Skills ที่จำเป็นในอนาคต : ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis Skills)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ “ข้อมูลคือน้ำมันใหม่” (Data is the new oil) คือวลีที่โด่งดังของ Clive Robert Humby นักคณิตศาสตร์ และสมาชิกราชบัณฑิตยสภาแห่งอังกฤษ ที่เอ่ยขึ้นครั้งแรกปี ค.ศ.2006 และได้รับการอ้างถึงอย่างกว้างขวาง เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลหรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ซึ่งอุตสาหกรรมต่างขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดิจิทัล เฉกเช่นเดียวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองในช่วงปลายทศวรรษ 1800 และต้นทศวรรษ 1900 ที่อุตสาหกรรมขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน  จากวลีดังกล่าว มีการขยายความว่า ข้อมูลดิบต้องได้รับการประมวลผลเช่นเดียวกับน้ำมันดิบที่ต้องผ่านการกลั่น เปลี่ยนเป็นก๊าซ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ฯลฯ เพื่อให้มีมูลค่า  ดังนั้นข้อมูลจะต้องแยกแยะและวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน

Hard Skills ที่จำเป็นในอนาคต : ทักษะการรู้เทคโนโลยี (Technological Literacy)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมาย เทคโนโลยีบางอย่างได้เข้ามาพลิกโฉมธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของสังคมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ทำให้คนต้องปรับตัวและเรียนรู้กับเทคโนโลยีมากขึ้น  เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ความรู้เพื่อสร้างหรือปรับปรุงอุปกรณ์ ระบบ และกระบวนการให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการ อำนวยความสะดวกสบาย พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความปลอดภัย หรือแก้ไขปัญหาของมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยีอาจเน้นไปที่การสร้างสิ่งใหม่หรือการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่  เพื่อทำให้ชีวิตและการทำงานของมนุษย์ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มที่ในด้านต่าง ๆ  หากจะนิยามเทคโนโลยีอย่างสั้นๆ นั่นคือ “สิ่งใดก็ตามที่มนุษย์ทำขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนโลกธรรมชาติให้ตรงตามความต้องการของตนเอง” (Shackelford, 2007) ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่พบได้ในยุคปัจจุบัน เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร    (อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ การสื่อสารทางออนไลน์ สื่อสังคม

Soft skill/Hard skill

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื้อหา 1.ความหมาย และลักษณะของทักษะ2.ประเภทของทักษะ 3.ความแตกต่างของ Soft skill และ Hard skill 4.การยกระดับทักษะ (Upskilling)5.อ้างอิง 1.ความหมาย และลักษณะของทักษะ เรามักได้ยินคำว่า “ทักษะ” (Skill) ในบริบทของ การกีฬา การแสดง งานช่าง งานฝีมือ อยู่บ่อยครั้ง เพราะทักษะเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้สิ่งนั้นสำเร็จ ทักษะ เป็นมโนทัศน์ สำหรับอธิบาย  ความเชี่ยวชาญ, ความชำนาญ, ความสามารถ, ฝีมือ, ความช่ำชอง, ความแคล่วคล่อง, ความสันทัด ของบุคคลหรือองค์กร  เมื่อทักษะประกอบกับ ความรู้

ระบบสะสมหน่วยกิต (Credit Bank System)

ผู้เรียบเรียง: รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื้อหา1.แนวคิดเกี่ยวกับระบบสะสมหน่วยกิต2.ลักษณะของระบบสะสมหน่วยกิต3.รูปแบบของระบบสะสมหน่วยกิต4.ข้อดีและข้อจำกัดของระบบสะสมหน่วยกิต5.อ้างอิง 1.แนวคิดเกี่ยวกับระบบสะสมหน่วยกิต หน่วยกิต (Credit) เป็นหน่วยวัดปริมาณ คุณค่า และระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งมีที่มาจากหลากหลาย คือ  (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ, 2565) ปัจจุบัน  ด้วยฐานแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตและมุมมองทางการธนาคาร เห็นว่า หน่วยกิต เป็นสิ่งที่สามารถสะสม เพิ่มพูน เทียบโอนได้ ในลักษณะเดียวกับสินทรัพย์ ที่นำไปฝากไว้ในระบบธนาคาร  โดยหน่วยกิตเปรียบเสมือนสกุลเงินหนึ่ง คือ สกุลเงินความรู้ (Knowledge Currency) ที่เมื่อสะสมจนจบหลักสูตร ก็จะสามารถเทียบ โอน หรือแปลงเป็นหนังสือรับรองคุณวุฒิได้  (Junor &

สมรรถนะ (Competencies)

ผู้เรียบเรียง: รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นเนื้อหา 1.แนวคิด 2.ประเภท 3.องค์ประกอบ  4.หลักสูตรฐานสมรรถนะ5.ประเมินสมรรถนะ6.อ้างอิง 1.แนวคิด “สมรรถนะ” เป็นมโนทัศน์ที่ใช้สำหรับกล่าวถึงความสามารถในด้านต่าง ๆ ของเครื่องยนต์ เช่น กำลัง แรงบิด อัตราความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงที่แตกต่างกันออกไป การวัดและทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ ก็เพื่อเป็นการนำข้อมูลไปวิเคราะห์ ออกแบบและปรับปรุงเครื่องยนต์ให้มีความเหมาะสม หรือมีประสิทธิภาพสูงสุด    ในทางการบริหารองค์การ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการจัดการศึกษา “สมรรถนะ” คือ ชุดของความรู้ ทักษะ ลักษณะเฉพาะ และอื่นๆ ที่ทำให้การดำเนินงานใดๆบรรลุความมุ่งหมาย ซึ่งการวัด ทดสอบสมรรถนะ ก็เพื่อให้นำไปใช้ปรับปรุง พัฒนา ส่งเสริม การทำงานหรือการแข่งขันของบุคลากร หรือองค์กรให้ดีขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นกัน   คำว่า

Soft Skills ที่จำเป็นในอนาคต : [br]การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)

ผู้เรียบเรียง รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เนื้อหา 1.ความหมายและความสำคัญ2.ลักษณะและองค์ประกอบ3.กระบวนการ4.การพัฒนาทักษะ 5.อ้างอิง 1.ความหมายและความสำคัญ การคิด เป็นกลไกทางสมองตามธรรมชาติของมนุษย์  จากการที่สมองรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อม สังคมและประสบการณ์ดั้งเดิมของมนุษย์ ด้วยประสาทสัมผัสต่างๆ  ทำให้เกิดกระบวนการจำแนกรายละเอียด การเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งข้อมูลอาจเป็นแบบรูปธรรมหรือนามธรรม เกิดการแปลความหมายของข้อมูล สรุป อ้างอิง สร้างแนวความคิดรวบยอด  ตลอดจนเป็นกระบวนการที่เกี่ยวกับการนำกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างมีเหตุผลและเหมาะสม  การคิดนี้ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องง่ายๆไปจนถึงเรื่องที่มีความซับซ้อน  สภาความเป็นเลิศแห่งชาติด้านการคิดเชิงวิพากษ์ (The National Council for Excellence in Critical Thinking) ให้นิยามของ การคิดเชิงวิพากษ์ ว่า เป็นกระบวนการทางปัญญาอย่างมีวินัย ในการคิด

การเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปรมะ แขวงเมือง สาขาวิชาการศึกษาด้านการพัฒนาวิชาชีพ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นอาจารย์พรพิสุทธิ์ ดวงเงิน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ต้องอาศัยการเรียนการสอนที่ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 กระบวนทัศน์ในการจัดการศึกษาต้องเปลี่ยนแปลงไป ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็น ผู้เรียน ผู้สอน ผู้นำ รวมไปถึงชุมชน ต้องร่วมกันเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต กระบวนทัศน์ที่สำคัญที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้นั้น คือการเคลื่อนเข้าสู่ “การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Learner-centered Approach)” อย่างแท้จริง รวมถึงการเชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ภายใต้แนวคิดของการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะสำคัญในตนเอง เป็นผู้เรียนที่มีทักษะ Think Globally, Act Locally ในบทความนี้จะนำเสนอ การเรียนรู้แบบเดิมกับการเรียนรู้สมัยใหม่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่กระบวนทัศน์ใหม่ของการสอนและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องในศตวรรษที่ 21 The development