Soft Skills ที่จำเป็นในอนาคต : การสร้างสรรค์ (Creativity)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ การสร้างสรรค์ (Creativity) เป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและมีหลายแง่มุม จากหลากหลายสาขาวิชา ยากจะอธิบายได้อย่างชัดเจนและครอบคลุมด้วยนิยามเดียว เพราะการสร้างสรรค์นั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะในทางศิลปะ แต่ยังรวมถึง วิทยาศาสตร์ การบริหารธุรกิจ การเกษตร และอื่นๆอีกมากมาย (Kersting, 2003; Skillicorn, 2021) พจนานุกรมเคมบริดจ์ ให้นิยามการคิดสร้างสรรค์ อย่างสั้นๆว่า “ความสามารถในการผลิตหรือใช้แนวคิดแรกเริ่ม (Originality) และแปลกใหม่” (Cambridge University Press, 2023) สารานุกรมบริทานิกา ให้ความหมายของ การสร้างสรรค์ คือ ความสามารถในการผลิตสิ่งใหม่ผ่านทักษะการจินตนาการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีแก้ปัญหาใหม่ วิธีการหรืออุปกรณ์ใหม่ หรือวัตถุหรือรูปแบบทางศิลปะใหม่

Hard Skills ที่จำเป็นในอนาคต : ทักษะดิจิทัล (Digital Skills)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ ในโลกยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีดิจิทัลได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว คนทั่วไปสามารถครอบครองและเข้าถึงอุปกรณ์สื่อสารดิจิทัลได้ง่ายขึ้น สะดวกสบายยิ่งขึ้น จากรายงาน Digital2023: Thailand (Kemp, 2023) ซึ่งสำรวจพฤติกรรมเกี่ยวกับดิจิทัลของคนไทย พบว่า  61.21 ล้านคน หรือมากถึง 85.3% ของประชากร เป็นผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยใช้งานเฉลี่ยมากถึง 8 ชั่วโมง 6 นาที ต่อวัน   ส่วนใหญ่ใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยกิจกรรมที่ทำ 5 อันดับแรก คือ  (1) ค้นหาข้อมูล 64.69% (2)

 Hard Skills ที่จำเป็นในอนาคต : ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis Skills)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ “ข้อมูลคือน้ำมันใหม่” (Data is the new oil) คือวลีที่โด่งดังของ Clive Robert Humby นักคณิตศาสตร์ และสมาชิกราชบัณฑิตยสภาแห่งอังกฤษ ที่เอ่ยขึ้นครั้งแรกปี ค.ศ.2006 และได้รับการอ้างถึงอย่างกว้างขวาง เมื่อโลกเข้าสู่ยุคดิจิทัลหรือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ ซึ่งอุตสาหกรรมต่างขับเคลื่อนด้วยข้อมูลดิจิทัล เฉกเช่นเดียวกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สองในช่วงปลายทศวรรษ 1800 และต้นทศวรรษ 1900 ที่อุตสาหกรรมขับเคลื่อนด้วยน้ำมัน  จากวลีดังกล่าว มีการขยายความว่า ข้อมูลดิบต้องได้รับการประมวลผลเช่นเดียวกับน้ำมันดิบที่ต้องผ่านการกลั่น เปลี่ยนเป็นก๊าซ พลาสติก เคมีภัณฑ์ ฯลฯ เพื่อให้มีมูลค่า  ดังนั้นข้อมูลจะต้องแยกแยะและวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผน

Hard Skills ที่จำเป็นในอนาคต : ทักษะการรู้เทคโนโลยี (Technological Literacy)

รองศาสตราจารย์ ดร.วิศปัตย์ ชัยช่วย ผู้ช่วยคณดีฝ่ายบัณฑิตศึกษาอนาคต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น 1.ความหมายและความสำคัญ ในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมาย เทคโนโลยีบางอย่างได้เข้ามาพลิกโฉมธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อวัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจของสังคมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ทำให้คนต้องปรับตัวและเรียนรู้กับเทคโนโลยีมากขึ้น  เทคโนโลยี เป็นการประยุกต์ความรู้เพื่อสร้างหรือปรับปรุงอุปกรณ์ ระบบ และกระบวนการให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการ อำนวยความสะดวกสบาย พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างความปลอดภัย หรือแก้ไขปัญหาของมนุษย์ การพัฒนาเทคโนโลยีอาจเน้นไปที่การสร้างสิ่งใหม่หรือการปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่  เพื่อทำให้ชีวิตและการทำงานของมนุษย์ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและเต็มที่ในด้านต่าง ๆ  หากจะนิยามเทคโนโลยีอย่างสั้นๆ นั่นคือ “สิ่งใดก็ตามที่มนุษย์ทำขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนโลกธรรมชาติให้ตรงตามความต้องการของตนเอง” (Shackelford, 2007) ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่พบได้ในยุคปัจจุบัน เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร    (อินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือ การสื่อสารทางออนไลน์ สื่อสังคม