มีนาคม 2024

ขอเชิญชวนนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมผลิตวิดีโอเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัล

ขอเชิญชวนนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมผลิตวิดีโอเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัล วิดีโอมีเนื้อหา ความฉลาดทางดิจิทัล (KKU DQ) Generative AI ทักษะดิจิทัลที่จำเป็นในการเรียนรู้และการประกอบอาชีพ ดูรายละเอียดโครงการและหัวข้อ https://kku.world/kkufun ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ  นักศึกษาศึกษาโครงการและหัวข้อ  สมัครและเลือกหัวข้อที่ต้องการผลิตวิดีโอ คลิกลิงก์ https://kku.world/1432024  ดำเนินการผลิตวิดีโอตามเงื่อนไขและหัวข้อที่เลือกในข้อ 2  ส่งผลงานวิดีโอ คลิกลิงก์ https://kku.world/1532024 ภายในวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 วิดีโอตัวอย่าง เป็นไอเดียสำหรับน้องๆ จ้า https://kku.world/vdosample สอบถามเพิ่มเติม ได้ที่ โทร. 0 4320 2899 , 06 5635 3229 email: ltic.edu@kku.ac.th , swanida@kku.ac.th #PDS #KKUDigitalSkills #ShareSkills #forKKU

ขอเชิญชวนนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมผลิตวิดีโอเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัล Read More »

ฝ่ายดิจิทัลจัดอบรมพัฒนาสมรรถนะและความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหาร (Digital Leadership Essentials Workshop)

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2567 ฝ่ายดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดการอบรมพิเศษหัวข้อ “Digital Leadership Essentials Workshop” ขึ้น ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น. โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะและความฉลาดทางดิจิทัลให้แก่คณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ณ KKU Academy ชั้น 9 อาคารศูนย์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การอบรมในครั้งนี้เริ่มต้นด้วยการบรรยายพิเศษ หัวข้อ “Generative AI สำหรับผู้บริหาร” โดยรศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ กรรมการสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งนำเสนอความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ยุคใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1. Your Leadership for Change ประกอบด้วยหัวข้อย่อย ได้แก่ Generative AI in Action, การพิสูจน์และยืนยันตัวตนด้วย ThaiD ผ่าน KKU ID Hub,

ฝ่ายดิจิทัลจัดอบรมพัฒนาสมรรถนะและความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหาร (Digital Leadership Essentials Workshop) Read More »

ศูนย์นวัตกรรมจัดอบรมการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่ตอบสนอง Learning Style ของผู้เรียน ด้วย iPad

วันที่ 19 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 16.00 น. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่ตอบสนอง Learning Style ของผู้เรียนด้วย iPad” ณ ห้องอบรมของศูนย์ฯ ชั้น 7 อาคารศูนย์สารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาได้เรียนรู้วิธีการนำ iPad มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่ตอบสนองต่อรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนยุคปัจจุบัน ทางศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ได้รับเกียรติจากคุณชัชจ์ ลมเชย Apple Professional Learning Specialist (นักพัฒนาสื่อการสอนเพื่อพัฒนาการศึกษา จาก Apple แห่งประเทศไทย) มาเป็นวิทยากร ภายในงานอบรมประกอบไปด้วยการบรรยายให้ความรู้และกิจกรรมปฏิบัติการหลากหลายรูปแบบ อาทิ การถ่ายภาพด้วยฉากเขียว การสร้างสื่อมัลติมีเดียกระตุ้นการเรียนรู้ การทำหนังสือดิจิทัล การสร้างพอดแคสต์ และการผลิตสื่อความจริงเสริม โดยมี คุณจรัญ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้ รวมถึงวิทยากรจากบริษัท Apple ประจำประเทศไทย มาร่วมถ่ายทอดความรู้และให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าอบรม นับเป็นหลักสูตรที่มีผู้สนใจจำนวนมาก ประกอบด้วยคณาจารย์จากหลากหลายคณะวิชา ตลอดจนบุคลากรทางการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสื่อการเรียนการสอน

ศูนย์นวัตกรรมจัดอบรมการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่ตอบสนอง Learning Style ของผู้เรียน ด้วย iPad Read More »

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน จัดอบรมเรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามแนว AUN-QA โดยใช้ LMS เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามแนว AUN-QA โดยใช้ LMS เป็นเครื่องมือพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ณ ห้องอบรม ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน อาคารศูนย์สารสนเทศ ชั้น 7 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะที่จำเป็นสำหรับการจัดการเรียนการสอนในระดับมาตรฐานสากลให้แก่คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันยารัตน์ เควียเซ่น อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีประสบการณ์ในด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ โดยเนื้อหาภายในหลักสูตรได้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังนี้ 1. Overview of AUN-QA Model and Concept เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจถึงแนวคิดและรูปแบบของ AUN-QA (ASEAN University Network – Quality Assurance) ซึ่งเป็นเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน AUN-QA มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในมิติต่างๆ ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการบริหารจัดการ เพื่อให้การจัดการศึกษาของสถาบันมีความทันสมัย

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน จัดอบรมเรื่อง การจัดการเรียนรู้ตามแนว AUN-QA โดยใช้ LMS เป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน Read More »

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสาขานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 น. ผศ.ดร.พงษ์พิทยา สัพโส รองผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน พร้อมด้วยบุคลากร ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสาขานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ในหลากหลายด้าน ดังนี้ 1. KKU Production House ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตสื่อ โดยได้รับความรู้และพบประสบการณ์ตรงจากการทำงานจริงในหลายขั้นตอน เช่น การวางแผนและออกแบบสื่อ การถ่ายทำและบันทึกเสียง การตัดต่อและประมวลผล และได้รับชมผลงานสื่อสำเร็จรูปและรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางพัฒนางานต่อไป 2. การเรียนการสอนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (KKU e-Learning) ซึ่งมีการสาธิตการใช้งานระบบ LMS การสร้างและบริหารจัดการหลักสูตรออนไลน์ เทคนิคการผลิตสื่อมัลติมีเดียประกอบการสอนแบบออนไลน์ รวมถึงวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3. ระบบ KKUx สำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์สำหรับบุคคลทั่วไป มีการนำเสนอหลักสูตรออนไลน์หลากหลายสาขา ตั้งแต่ด้านวิชาการ วิชาชีพ จนถึงการพัฒนาตนเอง สามารถเข้าเรียนได้ตลอดชีวิตตามความต้องการ 4. หลักสูตรความฉลาดทางดิจิทัล (Digital

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากสาขานวัตกรรมและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร Read More »

ขยายเวลาการสมัครขอรับทุนสนับสนุนการผลิตตำราในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2567

สนับสนุนทุนละ 50,000 บาท สำหรับตำราหรือหนังสือที่พร้อมเผยแพร่  ผู้มีสิทธิ์เสนอขอรับทุน พนักงานมหาวิทยาลัย หรือข้าราชการ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นผู้แต่ง หรือเรียบเรียง หรือผู้แปลโดยตรง และเป็นผู้ที่มีชื่อปรากฏเป็นชื่อแรก (First author)  ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการลาศึกษาต่อ หรือลาฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ หรือถูกขอตัวไปช่วยราชการหรือปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่น  ไม่เป็นผู้ที่อยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาการกระทำความผิด หรือโทษทางวินัย หรือความผิดอื่นที่อาจส่งผลกระทบต่อการได้รับทุน เป็นผู้ไม่มีภาระผูกพันในการส่งผลงานตำราหรือหนังสือให้มหาวิทยาลัยในโครงการทุนสนับสนุนการผลิตตำรา สมัครรับทุนตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2567 ** ตำราหรือหนังสือที่มีเนื้อหาสมบูรณ์พร้อมสำหรับการเข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรอง ต้นฉบับตำราหรือหนังสือมีส่วนเนื้อหาสาระ อย่างน้อย 5 บท และมีจำนวนหน้ารวมกันไม่น้อยกว่า 80 หน้า กระดาษขนาด A4 single space (หากมีความยาวน้อยกว่า 80 หน้า จะต้องเสนอเหตุผลเพิ่มเติมให้คณะกรรมการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ) ตำราหรือหนังสือที่มีภาพประกอบ ต้องเป็นภาพสีทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่มีความจำเป็นที่ต้องเป็นภาพขาวดำ ซึ่งต้องอธิบายเหตุผลประกอบ และต้องมีต้นฉบับของภาพประกอบที่พร้อมสำหรับจัดทำตำราในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ภาพประกอบต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ตำราหรือหนังสือต้องมีวิดีโอสรุปหรือบรรยายเนื้อหา อย่างน้อย บทละ

ขยายเวลาการสมัครขอรับทุนสนับสนุนการผลิตตำราในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประจำปี 2567 Read More »

thThai
Scroll to Top