4 ขั้นตอนย้ายไฟล์ง่าย ๆ สำหรับชาว มข.

4 ขั้นตอนย้ายไฟล์ง่าย ๆ สำหรับชาว มข.
ย้ายข้อมูลจาก Google Drive ไปยัง KKU-Storage พื้นที่ส่วนตัวสำหรับชาว มข. วิธีนี้ Qsync บนคอมพิวเตอร์จะอาศัยพื้นที่ของ Drive C เป็นหลัก สำหรับการคัดลอกไฟล์ขนาดใหญ่ลงใน Qsync บนคอมพิวเตอร์
พบขั้นตอนการย้ายข้อมูลในรูปแบบวิดีโอเร็ว ๆ นี้
ที่มาของเหตุผลในการย้ายข้อมูล : https://kku.world/m8hif
 
Unlimited Storage กำลังสิ้นสุดลง จริงหรือ?
ยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง ชาวมหาวิทยาลัย รวมทั้ง มข. เราได้ใช้พื้นที่เก็บข้อมุลบนคลาวด์แบบ unlimited กันทั้งจากค่าย Google และ Microsoft ชาวมหาวิทยาลัยก็จัดเต็ม กับการใช้พื้นที่บนคลาวด์แบบไม่ต้องบริหารจัดการว่าอะไรยังจะต้องเก็บอีกหรือไม่ แต่มาวันนี้ ทั้ง 2 ค่ายก็ปรับนโยบายมาเป็นแบบ limited ทำให้ต้องมาบริหารจัดการอีกครั้ง
 
มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็ยังอยากคงความเป็น unlimited ไว้ให้บุคลากร เพราะเราพบว่าข้อมูลส่วนใหญ่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน ในที่สุดเราจึงลงทุน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน (1) ซื้อบริการด้านความปลอดภัยข้อมูลของ Google for Education Plus ทำให้เราสามารถได้พื้นที่เพิ่มให้ทุกคนได้อีกพอสมควร (2) ลงทุนติดตั้งอุปกรณ์เก็บข้อมูลลักษณะเดียวกันเพิ่มเติม โดยติดตั้งไว้ที่มหาวิทยาลัยเอง เรียกว่า KKU-Storage
 
ด้วย 2 แนวทาง ทำให้เรายังสามารถให้บุคลากร มข. ยังสามารถมีพื้นที่เก็บไฟล์งานได้แบบ unlimited อยู่ แต่ต้องบริหารจัดการไฟล์ข้อมูลบ้าง ด้วยแนวทางดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลที่ใช้ประจำ เช่น ในระยะเวลา 1 ปี ยังเปิดใช้งาน ให้เก็บที่ Google Drive โดยจะให้โควต้าคนละ 100GB
2. ข้อมูลที่ใช้งานไม่บ่อย หรือ อาจมีข้อมูลส่วนตัวบ้างเช่น รูปถ่ายบนมือถือ ให้เก็บที่ KKU-Storage โดยไม่จำกัดพื้นที่ (unlimited)
ซึ่ง ทั้งสองอย่าง ทำให้นับได้ว่า มข. ยังคงให้พื้นที่บุคลากรแบบ unlimited อยู่ และยืนอยู่บนขาของตัวเองเป็นหลัก 

ทำให้บุคลากรต้องย้าย (copy ไปที่ KKU-Storage แล้วลบออกจาก Google Drive) เพื่อลดจำนวนบน Google Drive ให้เหลือไม่ถึง 100GB ภายในเดือนเมษายนนี้ (ทำให้เสร็จก่อนสงกรานต์นะ)
  • บุคลากร มข. สามารถเข้าใช้งาน KKU-Storage ได้แล้วที่ https://storage.kku.ac.th/ โดย login ด้วย KKU Account
  • สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยยังคงให้ใช้งาน email ได้ตลอดชีวิต แต่พื้นที่เก็บข้อมูลจำกัดลง (40-50GB) และหากไม่ใช้งานนานเกิน 1 ปี มหาวิทยาลัยจะลบบัญชีเพื่อขอคืนพื้นที่
ผลิตโดย : นิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Scroll to Top