โลกยุคดิจิทัลขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงหลากหลายวงการ รวมถึงวงการศึกษา AI ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน แต่ยังช่วยยกระดับการสร้างแบบทดสอบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นช่วยให้ผู้สอนมีเวลาโฟกัสกับนักเรียนมากยิ่งขึ้น
AI กับการสร้างแบบทดสอบ
AI ช่วยสร้างแบบทดสอบที่หลากหลาย ครอบคลุม และตรงตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยสามารถสร้างแบบทดสอบได้หลากหลายรูปแบบ เช่น
สร้างแบบทดสอบทดสอบในกรณีที่ไม่ได้มีเนื้อหาให้ AI : สร้างข้อสอบโดยอิงจากฐานข้อมูลที่ AI มี โดยที่เราไม่มีเนื้อหาให้ AI
แบบทดสอบแบบเลือกตอบโดยมีเนื้อหามาให้ AI ช่วยสร้างข้อสอบ : นำเนื้อหาจากบทเรียนให้ AI ช่วยออกข้อสอบจากเนื้อหาที่สอนได
สร้างคำถามอัตโนมัติ :สร้างคำถามจากเนื้อหาบทเรียน กำหนดระดับความยากง่าย และรูปแบบคำถามได้หลากหลาย ช่วยประหยัดเวลาในการออกแบบแบบทดสอบ
วิเคราะห์ข้อสอบ: วิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบ เช่น ความยากง่าย ความชัดเจน และความเที่ยงตรง เพื่อปรับปรุงข้อสอบให้มีประสิทธิภาพ
องค์ประกอบของพร้อมในการสร้างแบบทดสอบ
– กำหนดบทบาท
– กำหนดเป้าหมาย / จุดประสงค์ของการสร้าง
– กำหนดรายรายละเอียดหรือเงื่อนไข
– กำหนดขอบเขต / จำนวนข้อ
ตัวอย่าง Prompt สร้างแบบทดสอบด้วย AI
Prompt สำหรับสร้างแบบทดสอบทดในกรณีที่ไม่ได้มีเนื้อหาให้ AI
คุณเป็นศาสตราจารย์ที่สอนวิชาประวัติศาสตร์ ช่วยสร้างแบบทดสอบแบบเลือกตอบ ก. ข. ค. ง. จ. เกี่ยวกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลาง สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สร้างให้ตัวเลือกอยู่ในระดับการวิเคราะห์ขึ้นไปที่มีความละเอียดทั้งคำถามและตัวเลือกที่คาดเดาคำตอบได้ยาก หลีกเลี่ยงการสร้างตัวเลือกในลักษณะถูกทุกข้อ ทั้งนี้ส่วนนำของแบบทดสอบให้มีรายละเอียดคำชี้แจงในการทำแบบทดสอบด้วย จำนวน 10 ข้อ พร้อมเฉลย
Prompt สร้างแบบทดสอบแบบเลือกตอบโดยมีเนื้อหามาให้ AI ช่วยสร้างข้อสอบ
คุณเป็นศาสตราจารย์ที่สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษา ช่วยสร้างแบบทดสอบแบบเลือกตอบ ก. ข. ค. ง. จ. พร้อมเฉลย จำนวน 10 ข้อ โดยใช้เนื้อหาที่กำหนดให้นี้ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 สร้างให้ตัวเลือกอยู่ในระดับการวิเคราะห์ขึ้นไปที่มีความละเอียดทั้งคำถามและตัวเลือกที่คาดเดาคำตอบได้ยาก หลีกเลี่ยงการสร้างตัวเลือกในลักษณะถูกทุกข้อ ทั้งนี้ส่วนนำของแบบทดสอบให้มีรายละเอียดคำชี้แจงในการทำแบบทดสอบด้วย เนื้อหา “…………………………………………”
Prompt สำหรับสร้างแบบทดสอบประเภทจับคู่ความสัมพันธ์ที่มีตัวเลือกมากกว่าข้อคำถาม
คุณเป็นศาสตราจารย์กำลังสอนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ช่วยสร้างแบบทดสอบแบบจับคู่ความสัมพันธ์ ให้จับคู่คำในคอลัมน์ A กับความหมายหรือคำอธิบายในคอลัมน์ B โดยในคอลัมน์ A มีทั้งหมด 14 ข้อ และในคอลัมน์ B มี 10 ข้อ ให้เลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดจากคอลัมน์ B สำหรับแต่ละคำในคอลัมน์ A คำตอบในคอลัมน์ A บางข้อเป็นคำลวง ผู้สอบควรใช้ความรู้ในการตอบคำถามให้ถูกต้อง จำนวน 10 ข้อ พร้อมเฉลย
Prompt สำหรับอัพโหลดไฟล์เนื้อหาให้ AI ช่วยสร้างแล้วกำหนดให้ข้อสอบมีความยากและละเอียด
คุณเป็นศาสตราจารย์กำลังสอนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ช่วยสร้างแบบทดสอบแบบเลือกตอบ ก. ข. ค. ง. จ. จากไฟล์ที่อัพโหลดนี้ กำหนดให้คำถามและตัวเลือกอยู่ในระดับการคิดวิเคราะห์ขึ้นไป พร้อมกับสร้างให้คำถามและตัวเลือกมีความละเอียด จำนวน 10 ข้อ พร้อมเฉลย
Prompt สำหรับข้อสอบแบบเขียนสั้นสำหรับอัพโหลดไฟล์เนื้อหาให้ AI ช่วยสร้างแล้วกำหนดให้ข้อสอบมีความยากและละเอียด
คุณเป็นศาสตราจารย์กำลังสอนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ช่วยสร้างแบบทดสอบแบบเขียนสั้น จากไฟล์ที่อัพโหลดนี้ กำหนดให้คำถามอยู่ในระดับการคิดวิเคราะห์ขึ้นไป พร้อมกับสร้างให้คำถามมีความละเอียด พร้อมแนวทางการตอบ
Prompt สำหรับข้อสอบแบบเขียนตอบ ให้ AI ช่วยสร้างโดยไม่มีเนื้อหาให้
คุณเป็นศาสตราจารย์กำลังสอนเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ป่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ช่วยสร้างแบบทดสอบแบบเขียนตอบ กำหนดให้คำถามอยู่ในระดับการคิดวิเคราะห์ขึ้นไป พร้อมกับสร้างให้คำถามมีความละเอียด จำนวน 5 ข้อ พร้อมแนวทางการตอบ
Prompt สำหรับข้อสอบแบบแลือกตอบ ให้ AI ช่วยสร้างโดยไม่มีเนื้อหาให้
คุณเป็นศาสตราจารย์ที่สอนวิชาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ช่วยสร้างสถานการณ์สมมุติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครูวิชาศิลปะ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ 5 ข้อ จากนั้นให้นำสถานการณ์ที่สร้างขึ้นมาสร้างข้อสอบเกี่ยวกับการออกแบบและจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีจุดประสงค์การเรียนรู้ (O) กิจกรรมการเรียนรู้ (L) และการวัดและประเมินผล (E/A) มีองค์ประกอบของแผนการสอนที่สอดคล้องกันทุกด้าน ทั้งด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย และเจตคติ โดยให้ตัวเลือกแต่ละข้อเดายาก และไม่สร้างตัวเลือกในลักษณะ “จากทั้งหมดที่กล่าวมา” จำนวน 7 ข้อ พร้อมเฉลย
Prompt สำหรับข้อสอบแบบความเรียง AI ช่วยสร้างโดยไม่มีเนื้อหาให้
คุณเป็นศาสตราจารย์ที่สอนวิชาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ช่วยสร้างแบบทดสอบเรียงความ เกี่ยวกับรูปแบบการสอน วิธีการสอน เทคนิคการสอนที่นำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียน พร้อมกับอธิบายแนวทางการตอบ จำนวน 7 ข้อ พร้อมเฉลย
Prompt สำหรับข้อสอบแบบความเรียง AI ช่วยสร้างโดยกำหนดขอบเขตเนื้อหาให้
คุณเป็นศาสตราจารย์ที่สอนวิชาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ช่วยสร้างแบบทดสอบเรียงความ เกี่ยวกับรูปแบบการสอน วิธีการสอน เทคนิคการสอนที่นำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในโรงเรียน กำหนดให้คำถามมีความเชื่อมโยงกับเนื้อหาด้านจิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม การจัดวางเงื่อนไข การลงโทษและการเสริมแรง กับการประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน พร้อมกับอธิบายแนวทางการตอบ จำนวน 5 ข้อ
Prompt สำหรับสร้างแบบทดสอบแบบเติมคำในช่องว่างโดยใช้เนื้อหาจากไฟล์เสียง
คุณเป็นศาสตราจารย์กำลังสอนวิชาภาษาไทย ให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ช่วยสร้างแบบทดสอบแบบเติมคำในช่องว่างจากไฟล์เสียงบทบรรยายที่อัพโหลด โดยให้ผู้เรียนฟังไฟล์เสียงแล้วเติมคำในช่องว่างให้ถูกต้อง โดยคำที่เว้นว่างเป็นคำศัพท์ภาษาไทยที่สำคัญ เช่น คำราชาศัพท์ คำสมาส คำบาลีสันสกฤต เป็นต้น จำนวน 10 ข้อ พร้อมเฉลย
ทางศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมการคิด สร้างความเข้าใจ และเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ Prompt เพื่อสร้างแบบทดสอบที่หลากหลาย มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ และระดับชั้นของนักศึกษา ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลให้กับนักศึกษาและอาจารย์ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในอนาคต
นอกจากนี้ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอนยังให้บริการสนับสนุนคณาจารย์ในด้านต่างๆ เช่น การผลิตสื่อการสอนดิจิทัล การออกแบบหลักสูตรออนไลน์ และการพัฒนาบทเรียนในรูปแบบต่างๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของอาจารย์และบุคลากรอย่างครบวงจร
ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อขอรับคำปรึกษาได้ที่ศูนย์นวัตกรรมการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทางศูนย์พร้อมให้บริการทุกวันพุธ – วันพฤหัสบดี เวลา 13.30 น. – 15.30 น. เพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในยุคดิจิทัลไปสู่ระดับที่สูงขึ้น