พฤศจิกายน 2022

9 ข้อดีของการสร้างบทเรียนออนไลน์บน KKU eLearning

ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว วันนี้เรามีข้อดีของการสร้างบทเรียนออนไลน์บนระะบบ KKU e-Learning มาฝากอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดเวลาในการสอนทำให้อาจารย์มีเวลาในการเตรียมการสอนและออกแบบกิจกรรมการสอนมากขึ้น ด้วย 9 ข้อดีของ KKU e-Learning ที่เราสรุปมาให้ ดังนี้ 1.สอนครั้งเดียว เรียนได้ตลอดไม่จำกัด  เมื่อเราต้องสอนบรรยายเนื้อหาเดิมๆ ซ้ำๆ จะดีกว่ามั้ย? ถ้าเราทำเป็นบทเรียนออนไลน์ โดยการบันทึกสื่อการสอน นักศึกษาสามารถเรียนซ้ำได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา เรียนแล้วไม่เข้าใจก็สามารถกลับมาทบทวนซ้ำได้ไม่จำกัด 2.อาจารย์มีเวลามากขึ้น ลดการสอนบรรยายเนื้อหาเดิมๆ ซ้ำๆ ทำให้อาจารย์มีเวลามากยิ่งขึ้น และมีเวลาเพิ่มขึ้นในการออกแบบกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อเพิ่มความเข้าใจในเนื้อหาให้กับผู้เรียน  3.ผู้เรียนไม่พลาดเนื้อหาที่สอน แม้ไม่ได้มาเรียน ในยุคโควิด-19 แม้ผู้เรียนหรือผู้สอนติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้เรียนก็ไม่พลาดที่จะเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลาแม้อยู่ที่บ้าน สามารถมอบหมายการบ้านหรือกิจกรรมให้ผู้เรียนแบบรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ทั้งยังสามารถติดตามผู้เรียนได้ผ่านระบบ Assignment 4.มีระบบจัดการบทเรียนด้วยตนเอง การติดตามผู้เรียน และการทำแบบทดสอบ อาจารย์ผู้สอนสามารถจัดการรายวิชาได้ด้วยตนเอง พร้อมคู่มือการใช้งาน 5.รองรับการสอนแบบ Flipped Classroom รองรับการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพด้วยการสอนแบบ Flipped Classroom การเรียนรู้ก่อนเข้าชั้นเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผสมผสาน หลากหลายทำให้เข้าใจในเนื้อหาที่เรียนได้มากขึ้น 6.รองรับการสร้างแบบทดสอบและตรวจคำตอบอัตโนมัติ มีแบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน […]

9 ข้อดีของการสร้างบทเรียนออนไลน์บน KKU eLearning Read More »

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ให้การต้อนรับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรภ.สวนสุนันทา ดูงานด้านระบบแพลตฟอร์มการจัดการเรียนการสอนออนไลน์

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา โสมาบุตร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พิทยา สัพโส พร้อมด้วยบุคลากรศูนย์ฯ ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจาก สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา เพื่อเข้าศึกษาดูงานและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการองค์กรในการพัฒนามหาวิทยาลัย โดยมีการนำเสนอในเรื่องการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบดิจิทัล เช่น ระบบบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์ การสอบออนไลน์ การจัดอบรม การผลิตและให้บริการ Production House ในการให้บริการนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัย  ณ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน อาคารศูนย์สารสนเทศ ชั้น 6-7 มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ให้การต้อนรับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มรภ.สวนสุนันทา ดูงานด้านระบบแพลตฟอร์มการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ Read More »

คณะกรรมการฝ่ายถ่ายทอดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปี 2565 ประชุมเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์พิทยา สัพโส รองประธานฝ่ายถ่ายทอดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปี 2565 คณะกรรมการดำเนินงานประกอบด้วยศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน  ร่วมกับเครือข่ายผลิตสื่อดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน ครั้งที่ 1 โดยในปี พ.ศ. 2565 นี้มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-19 ธันวาคม 2565 นั้น โดยมีวาระการประชุมคือ กำหนดวันติดตั้งอุปกรณ์คือวันที่ 15 ธันวาคม และซ้อมจริงในวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งมีจุดรับชมประกอบด้วยบริเวณด้านในหอประชุมฯ 9 จุด บริเวณด้านนอกหอประชุมฯ สำหรับญาติบัณฑิต 2 จุดคือ บริเวณหอศิลปและวัฒนธรรม และ อาคารจตุรมุข อุทยานคณะเกษตรศาสตร์ โดยมีการถ่ายทอดสดเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านช่องทาง YouTube และ Facebook Fanpage เว็บไซต์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น 

คณะกรรมการฝ่ายถ่ายทอดพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประจำปี 2565 ประชุมเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน ครั้งที่ 1  Read More »

ศูนย์นวัตกรรมฯ คว้า 2 รางวัลด้านผลิตภัณฑ์/ สิ่งประดิษฐ์/ IT (Product Innovation)

ศูนย์นวัตกรรมฯ คว้า 2 รางวัลด้านผลิตภัณฑ์/ สิ่งประดิษฐ์/ IT (Product Innovation) ในโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การแสดงความสำเร็จและความภาคภูมิใจ ครั้งที่ 11 (The 11th KKU Show and Share) เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุชา โสมาบุตร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมฯ พร้อมด้วยคณะทำงาน เข้ารับรางวัลประเภทผลงานและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานประจำ ด้านผลิตภัณฑ์/สิ่งประดิษฐ์/ IT (Product Innovation) จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ รางวัลชนะเลิศ ผลงาน “การพัฒนาดิจิทัลแพล็ตฟอร์ม KKUx เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน” รางวัลชมเชย ผลงาน “ระบบการทดสอบสมรรถนะความฉลาดทางดิจิทัล บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น” โดยมีผลงานส่งเข้าประกวดประเภทดังกล่าว จำนวนทั้งสิ้น 31 ผลงาน ณ ห้องประชุมสิริคุณากร 3 ชั้น

ศูนย์นวัตกรรมฯ คว้า 2 รางวัลด้านผลิตภัณฑ์/ สิ่งประดิษฐ์/ IT (Product Innovation) Read More »

บุคลากรศูนย์นวัตกรรมฯ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรม Workshop พัฒนาศักยภาพด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา MobiLib (Mobile Library) โครงการเผยแพร่สารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข.

เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2565 เวลา 8.00-16.00 น. หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Information Science: BiS) โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการนักศึกษาแกนนำ iSchool KKU ขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้ โดยได้เชิญบุคลากรศูนย์นวัตกรรมฯ เป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่อง “การผลิต E-book” วิทยากรโดย นางสาวกมลพร อรรคฮาต ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ หัวข้อ “การจัดทำวิดีโอคลิปและการไลฟ์สตรีมมิ่งด้วย StreamYard วิทยากรโดย นายรวิภาส ภูแสง และ นายนรศิษฏ์ เปล่งรัศมี ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ให้กับนักศึกษาหลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 ที่เป็นสมาชิก MobiLib และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 39 คน ณ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน อาคารศูนย์สารสนเทศ ชั้น 7 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอบคุณภาพจากนักศึกษาโครงการ

บุคลากรศูนย์นวัตกรรมฯ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรอบรม Workshop พัฒนาศักยภาพด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา MobiLib (Mobile Library) โครงการเผยแพร่สารสนเทศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข. Read More »

บุคลากรศูนย์นวัตกรรมฯ ร่วมเป็นวิทยากรและคณะกรรมการจัดงาน “การประชุมวิชาการระดับชาติโสตฯ-เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35”

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาในฐานะเจ้าภาพ จัดโครงการประชุมวิชาการนานาชาติ “โสตฯ-เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย” ครั้งที่ 35 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 4-6 พฤศจิกายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในหัวข้อ “Revolution of educational communications and technology: Transformation to smart society” โดย ผศ. ดร.อนุชา โสมาบุตร รักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน เป็นวิทยากรอบรม Workshop หัวข้อ “การสร้าง Digital Classroom ด้วย Line App” และหัวข้อ “สร้าง Online Academy ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว ด้วย New Platform” โดย ดร.ยุทธนา สุมามาลย์ ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษาชำนาญการ และ นายระบิล

บุคลากรศูนย์นวัตกรรมฯ ร่วมเป็นวิทยากรและคณะกรรมการจัดงาน “การประชุมวิชาการระดับชาติโสตฯ-เทคโนฯ สัมพันธ์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35” Read More »

thThai
Scroll to Top